วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

เช่าซื้อ ซื้อเงินผ่อน จำนำ จำนอง ขายฝาก


การแลกเปลี่ยน - ซื้อขาย เป็นกิจที่มีมาตั้งแต่ที่มีมาตั้งแต่ในสมัยอดีตที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์จนปัจจุบัน และได้มีบัญญัติเป็นตัวบทกฏหมายในมาตรา 453 ไว้ว่า "อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ขาย" และสัญญาซื้อขาย จะต้องมีบุคคลสองฝ่าย, จะต้องเป็นสัญญาต่างตอบแทน, ต้องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขาย และต้องมีการตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายแก่ผู้ขาย

การเช่าซื้อ ตามมาตรา 572 บัญญัติว่า "อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกมาให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้ช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว" และสัญญเช่าซื้อนั้นจะมีองค์ประกอบ ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน, เป็นสัญญาซึ่งเจ้าของเอาสินทรัพย์ออกให้เช่า, ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขาย หรือให้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นของผู้เช่า, มีเงื่อนไขว่า ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และผู้ให้เช่าต้องมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ

การซื้อเงินผ่อน เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อ ขณะที่จะต้องผ่อนราคาอยู่ โดยผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินค่าสินทรัพย์ส่วนที่เหลือเป็นงวดๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด

การจำนำ หมายถึงสัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ ดังนั้น สัญญาจำนำ จึงเป็นสัญญาที่เอาสังหาริมทรัพย์มอบไว้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ สัญญาจำนำจะต้องมีสัญญาประธาน คือสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้, สัญญาจำนำเป็นสัญญาอุปกรณ์ คือเป็นสัญญาประกอบของสัญญาประธาน เพื่อประกันการชำระหนี้ของสัญญาประธาน, ทรัพย์สินที่จำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์, ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับจำนำ, กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่จำนำยังเป็นของผู้จำนำ และมีวัตถุประสงค์เพื่อประกันการชำระหนี้

การจำนอง คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบสินทรัพย์นั้นแก่ผู้รับจำนอง โดยมีลักษณะ ดังนี้ เป็นสัญญาสองฝ่าย คือ ผู้จำนอง กับผู้รับจำนอง, ต้องมีทรัพย์สินที่จำนอง, ไม่ต้องส่งมอบสิทรัพย์ที่จำนองให้แก่ผู้รับจำนอง, กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองยังเป็นของผู้จำนอง, ต้องมีสัญญาประธาน คือสัญญาที่ก่อให้กิดหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้, สัญญาจำนองเป็นสัญญาอุปกรณ์ เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ และผู้รับจำนองมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จำนองนั้นจำต้องโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่

การขายฝาก คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ โดยมีลักษณะ ดังนี้ เป็นนิติกรรมสองฝ่าย คือผู้ขายฝาก กับผู้ซื้อฝากได้ตกลงทำสัญญาขายฝากกัน, กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญาขายฝาก, มีข้อกำหนดว่าผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นคืนได้ โดยระยะเวลาไถ่คืนกำหนดไว้สองประการคือ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนด 10 ปี นับแต่เวลาซื้อขาย ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนด 3 ปี นับแต่เวลาซื้อขาย

อย่างไรก้อดีการเช่าซื้อ การซื้อเงินผ่อน การจำนำ การจำนอง และการขายฝากอาจมีข้อแตกต่างกันบ้างตามลักษณะของสินทรัพย์ เช่น สังหริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ หรือมีข้อแตกต่างของเงื่อนไขสัญญา แต่ทุกกิจที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องเกิดจากบุคคลสองฝ่าย และจะต้องมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้แก่เจ้าหนี้ ในช่วงเวลาที่กำหนด และได้มีการส่งมอบทรัพย์สินระหว่างกัน จึงจะถือว่า กิจที่ได้กระทำลงไปเป็นการสำเร็จเสร็จสิ้น

1 ความคิดเห็น: