วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

Inheritance ; มรดก


ชีวิตคนเรา ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน
เกิด แก่ เจ็บ ตายคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าไม่มีใครหนีพ้น คนที่จากไปคือ ผู้ที่หลุดพ้นจากทุกข์ ส่วนญาติที่ยังมีชีวิตอยู่จะทำใจได้มากน้อยเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่ทิ้งไว้ให้ดูแลต่างหน้า

ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ เว้นแต่ตามกฏหมาย หรือโดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เรียกว่า "มรดก" หรือ "กองมรดก" โดยที่มรดกจะตกไปยังทายาทของผู้ตาย


"ทายาท" คือบุคคลที่มีสิทธิตามกฏหมายหรือตามพินัยกรรม มี
- ทายาทโดยธรรม
- ผู้รับพินัยกรรม

การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
กฎหมายกำหนดลำดับชั้นของทายาทโดยธรรมไว้ 6 ลำดับ โดยแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
(1) ผู้สืบสันดาน คือ ลูก รวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัยและบุตรบุญธรรม
(2) บิดา มารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635 กรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ แต่ไม่มีทายาทโดยธรรมที่จะรับมรดกแล้ว ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดเป็นของแผ่นดิน

การรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรม
พินัยกรรม คือ หนังสือที่เจ้าของมรดกได้ทำขึ้นไว้ เพื่อแสดงเจตนาว่าเมื่อตนตายไปแล้วต้องการให้ทรัพย์สินต่างๆ ตกเป็นของใคร หรือตั้งให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรมจะมีผลก็ต่อเมื่อเจ้าของมรดกได้ตายไปแล้ว ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดให้พินัยกรรมต้องทำตามแบบ หากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดพินัยกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ กำหนดไว้ 5 แบบดังนี้
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5. พินัยกรรมแบบที่ทำด้วยวาจา
ผู้ทำพินัยกรรมสามารถตั้งบุคคลใดก็ได้ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือโดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ตั้ง

การยื่นคำร้องคัดค้าน
หากมีข้อสงสัยในพินัยกรรม ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านในคดีมรดกได้ โดยทั่วไปเหตุคัดค้านมีได้หลายประการ ยกตัวอย่าง เช่น
- พินัยกรรมปลอม
- ผู้ทำพินัยกรรมมีความสามารถบกพร่องในขณะที่ทำพินัยกรรม เช่น เป็นคนวิกลจริต หรืออายุยังไม่ครบ 15 ปี
- ทรัพย์มรดกสูญหาย
- ผู้จัดการมรดกไม่ทำตามหน้าที่

กรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำไว้แต่พินัยกรรมเป็นโมฆะ จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 และมาตรา 1629 ถึงมาตรา 1634 โดยจะเป็นกรณีที่รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
อายุความคดีมรดกกำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ว่า
- คดีมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
- คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิ ซึ่งตนมีอยู่ตาม

อย่างนี้แล้วหากผู้ที่มีอันจะกินควรคำนึงถึงผู้อยู่ข้างหลัง และแจ้งวัตถุประสงค์ว่ารักใครชอบใคร หรืออยากให้ใครได้มากน้อยต้องบอกให้ชัดเจนนะคะ ผู้เขียนเองต้องจบการเสวนาก่อนค่ะ รีบไปดูแลเจ้านายเผื่อท่านมองเห็นความดีบ้างนะค่ะ

แหล่งที่มาของข้อมูล: ร่างพินัยกรรม, คดีมรดก

2 ความคิดเห็น:

  1. อ่านเพลินจัง แต่มีทั้งแง่คิดสำหรับชีวิตและผสมผสานกับหลักกฎหมายได้กลมกลีนแนบเนียนค่ะ

    ตอบลบ
  2. ตัวหนังสือเล้กไปหน่อยอ่าพี่เขี้ยวววว

    ตอบลบ