วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

"บริษัทมหาชนจำกัด"


บริษัทมหาชนถูกกำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 โดยมีข้อกำหนดให้บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว สามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้ และประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่. และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวันผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์ กฎและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นต่อประชาชนจะถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์คอยกำกับดูแล

โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company) เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Public Company Limited)ซึ่งแต่เดิมนั้น บริษัทมหาชนถูกกำหนดให้ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน และต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยถือหุ้นอย่างน้อย 50% ของทุนจดทะเบียน แต่หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว เงื่อนไขของการมีผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป และกำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดจะมีผู้ถือหุ้นกี่คนก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 คน เท่านั้น


ส่วนสาระสำคัญของการเป็นบริษัท มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 นั้น มีดังนี้

1. บริษัท มหาชน จำกัด ต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญของการเป็นบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนหรือบริษัทมหาชน ที่จะแบ่งทุนของบริษัทออกเป็นหน่วยเท่าๆ กัน
2. ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด หากกิจการล้มละลาย หรือต้องปิดกิจการไป ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบแค่สูญเสีย “เงินลงทุน” เท่านั้น
3. บริษัทมีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
4. บริษัทต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเสมอ


เงื่อนไขการตั้งบริษัทมหาชนบริษัทมหาชน

1. มีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15 คน
2. มีกรรมการบริษัทขั้นต่ำ 5 คน
3. ไม่ได้จำกัดทุนจดทะเบียนว่าจะเป็น 1.0 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท ฯลฯ ก็เป็นบริษัทมหาชนได้ทั้งนั้น
4. บริษัทจำกัดในประเทศไทยสามารถที่จะแปรสภาพบริษัทของตัวเองให้เป็นบริษัทมหาชนได้ด้วยมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย
5. บริษัทมหาชน สามารถจะออกขายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หุ้นกู้ ฯลฯให้กับนักลงทุนได้
6. การขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (บริษัทสามารถที่จะโฆษณาได้อย่างเปิดเผย)


"บริษัทมหาชนจำกัด"

• โครงสร้างของบริษัทมหาชน; ถือหุ้นหรือก็คือเจ้าของ แต่จะไม่ได้มีสิทธิในการเข้าไปดูแลงานของบริษัทโดยตรง แต่จะเลือกกลุ่มคนที่จะเข้าไปบริหารแทนหรือ " Board of Directors" หรือ "คณะกรรมการผู้บริหาร" ผ่านทางการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมผู้ถือหุ้น" จากนั้น Board of Directors ก็จะมีการจัดประชุมที่เรียกว่าการ "ประชุมบอร์ดผู้บริหาร" หรือเรียกันสั้นๆว่าประชุมบอร์ด และเลือกตัวแทนที่เรียกว่า Representative director หรือที่ภาษาชาวบ้านอย่างเราๆ เรียกกันว่า CEO หรือ MD ที่มาทำหน้าที่บริหารงานและดูแลพนักงาน

• บริษัทมหาชนไม่ได้มีการกำหนดจำนวนกรรมการ แต่กรรมการต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท กฎหมายยังกำหนดว่าต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

• บริษัทมหาชน เป็นนิติบุคคลที่ระดมทุนเพื่อนำเงินเหล่านั้นไปลงทุน โดยผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยที่บริษัททำการออกหุ้น สิทธิในการเป็นเจ้าของบริษัทคือผู้ถือหุ้น และบริษัทรวบรวมเงินเหล่านี้ไปใช้ในการขยายกิจการ เป็นสาเหตุให้เจ้าของธุรกิจต่างก็อยากเอาธุรกิจของตัวเองเข้าตลาดหุ้น เพราะว่าทำให้ระดมทุนได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากธนาคารทั่วไป

• บริษัทมหาชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมทุนจากประชาชนโดยการซื้อหุ้น และจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของเงินปันผล


การเลิกบริษัทมหาชน

1. ศาลมีคำสั่งให้เลิก บริษัทบริษัทมหาชนล้มละลาย เมื่อผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนหุ้นได้ร้องขอให้ศาลเลิกบริษัท
2. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง
3. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการประชุมจัดตั้งบริษัท หรือการจัดทำรายงานการจัดตั้งบริษัท
4. คณะกรรมการบริษัทไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระเงินค่าหุ้น การโอนกรรมสิทธิทรัพย์สิน
5. จำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสิบห้าคน
6. กิจการของบริษัทดำเนินไปก็มีแต่จะขาดทุน และไม่มีหวังที่จะดำเนินกิจการให้ดีขึ้น


ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล; นักบัญชี ดอทคอม

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

Inheritance ; มรดก


ชีวิตคนเรา ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน
เกิด แก่ เจ็บ ตายคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าไม่มีใครหนีพ้น คนที่จากไปคือ ผู้ที่หลุดพ้นจากทุกข์ ส่วนญาติที่ยังมีชีวิตอยู่จะทำใจได้มากน้อยเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่ทิ้งไว้ให้ดูแลต่างหน้า

ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ เว้นแต่ตามกฏหมาย หรือโดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เรียกว่า "มรดก" หรือ "กองมรดก" โดยที่มรดกจะตกไปยังทายาทของผู้ตาย


"ทายาท" คือบุคคลที่มีสิทธิตามกฏหมายหรือตามพินัยกรรม มี
- ทายาทโดยธรรม
- ผู้รับพินัยกรรม

การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
กฎหมายกำหนดลำดับชั้นของทายาทโดยธรรมไว้ 6 ลำดับ โดยแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
(1) ผู้สืบสันดาน คือ ลูก รวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัยและบุตรบุญธรรม
(2) บิดา มารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635 กรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ แต่ไม่มีทายาทโดยธรรมที่จะรับมรดกแล้ว ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดเป็นของแผ่นดิน

การรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรม
พินัยกรรม คือ หนังสือที่เจ้าของมรดกได้ทำขึ้นไว้ เพื่อแสดงเจตนาว่าเมื่อตนตายไปแล้วต้องการให้ทรัพย์สินต่างๆ ตกเป็นของใคร หรือตั้งให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรมจะมีผลก็ต่อเมื่อเจ้าของมรดกได้ตายไปแล้ว ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดให้พินัยกรรมต้องทำตามแบบ หากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดพินัยกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ กำหนดไว้ 5 แบบดังนี้
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5. พินัยกรรมแบบที่ทำด้วยวาจา
ผู้ทำพินัยกรรมสามารถตั้งบุคคลใดก็ได้ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือโดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ตั้ง

การยื่นคำร้องคัดค้าน
หากมีข้อสงสัยในพินัยกรรม ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านในคดีมรดกได้ โดยทั่วไปเหตุคัดค้านมีได้หลายประการ ยกตัวอย่าง เช่น
- พินัยกรรมปลอม
- ผู้ทำพินัยกรรมมีความสามารถบกพร่องในขณะที่ทำพินัยกรรม เช่น เป็นคนวิกลจริต หรืออายุยังไม่ครบ 15 ปี
- ทรัพย์มรดกสูญหาย
- ผู้จัดการมรดกไม่ทำตามหน้าที่

กรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำไว้แต่พินัยกรรมเป็นโมฆะ จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 และมาตรา 1629 ถึงมาตรา 1634 โดยจะเป็นกรณีที่รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
อายุความคดีมรดกกำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ว่า
- คดีมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
- คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิ ซึ่งตนมีอยู่ตาม

อย่างนี้แล้วหากผู้ที่มีอันจะกินควรคำนึงถึงผู้อยู่ข้างหลัง และแจ้งวัตถุประสงค์ว่ารักใครชอบใคร หรืออยากให้ใครได้มากน้อยต้องบอกให้ชัดเจนนะคะ ผู้เขียนเองต้องจบการเสวนาก่อนค่ะ รีบไปดูแลเจ้านายเผื่อท่านมองเห็นความดีบ้างนะค่ะ

แหล่งที่มาของข้อมูล: ร่างพินัยกรรม, คดีมรดก

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

การแต่งงาน...บทสรุปของความรัก จริงหรือ ?



การแต่งงานแบบไทย มีขั้นตอนมากมายโดยเริ่มจากคนสองคนรักกัน หรือผู้ใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมกัน จะเริ่มจาก การสู่ขอโดยมีพิธีการสู่ขอ และถ้าสำเร็จจะมีการแจ้งผลการสู่ขอ ถ้าหากว่าตกลงแต่งงานต่อไปคือการปลูกเรือนหอ มีการหมั้นเกิดขึ้นและต้องมีสินสอดทองหมั้นที่สมฐานะของทั้งสองฝ่าย

การผิดสัญญาหมั้น โดยอาจเกิดจากฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่ง
หากฝ่ายชายผิดสัญญาไม่มาทำการแต่งงานตามวันเวลาที่กำหนด ทำให้ฝ่ายหญิงเป็นหม้ายขันหมาก ฝ่ายชายจะต้องถูกริบสินสอด ทองหมั้น จะเรียกร้องคืนไม่ได้ หากฝ่ายหญิงผิดสัญญา คือไม่ยอมแต่งงานกับฝ่ายชายด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องคืนสินสอดทองหมั้นทั้งหมดแก่ฝ่ายชาย ด้วยเหตุนี้เฒ่าแก่อาจต้องจดบันทึกรายการของหมั้นเอาไว้เป็นหลักฐาน แต่ไม่นิยมเพราะเหมือนกับว่าไม่ไว้ใจกัน หากว่าไม่มีข้อขัดข้องในขั้นตอนของการหมั้น ต่อไปคือการหาฤกษ์ยามการแต่งงาน การแต่งแบบไทยจะต้องมีพิธีตักบาตรเช้า พิธีรดน้ำสังข์ การกินเลี้ยงฉลองสมรสมรส พิธการปูที่นอนและส่งเจ้าสาวเป็นอันเสร็จพิธี

การแต่งงานจะมีขั้นตอนมากมายอย่างไร หากสองฝ่ายไม่มีความอดทนในพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของอีกฝ่ายได้ ปัญหาในครอบครัวก็จะตามมา แม้จะมีข้อผูกมัดในเรื่องต่างๆ เช่น มีลูกด้วยกัน มีธุรกิจร่วมกัน ฝากเงินหรือมีทรัพย์สินร่วมกัน ไม่มีสิ่งใดมารับประกันได้ว่าคนสองคนจะต้องทนอยู่ด้วยกันไปจนตาย การหาทางออกของปัญหาครอบครัวจึงมีอยู่หลายวิธี

""การหย่าร้าง"อาจเป็นทางออกหนึ่งของชีวิตคู่ คนเราหากต้องมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตครั้งใหญ่อย่างนี้ควรที่จะรู้ว่าใครมีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร แม้อาจเป็นเรื่องที่ไม่สมควรกล่าวขึ้นมา แต่ผลประโยชน์ที่อาจส่งผลต่อนาคตของแต่ละคนจึงควรที่จะเรียนรู้อย่างรอบครอบไว้ก่อน

เมื่อแต่งงานกันแล้ว ทรัพย์สินในครอบครัวจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1.ส่วนที่เป็นสินสมรส (เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง)
2.ส่วนที่เป็นสินส่วนตัว (เป็นทรัพย์สินของส่วนบุคคลที่อีกฝ่ายไม่สามารถแตะต้องได้) ฉะนั้น ควรรู้ว่าอย่างไหนที่จะส่วนตัว อย่างไหนที่จะร่วมกันกับสามีหรือภรรยาตามกฏหมาย

“สินสมรส” คือ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และบรรดาที่เป็นสินส่วนตัวด้วย ส่วนสินส่วนตัวนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือบรรดาที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหลาย จนถึงเครื่องประดับตามฐานะ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพแต่หลายคนก็ไม่รู้ว่านอกจากนั้นแล้ว กฎหมายยังขยายความถึงทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสที่มีคนยกให้หรือได้มรดกมาด้วย แต่ถ้ายกให้หรือเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรส

"สินส่วนตัว" คือ ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนการสมรสทั้งหมด หรือทรัพย์สินที่บิดามารดาของแต่ละฝ่ายให้มาในระหว่างสมรส เช่นบิดามารดาได้มอบบ้านและที่ดินให้ด้วยความเสน่หา แน่นอนว่าทรัพย์สินนั้นจะต้องเป็นสินส่วนตัวแน่นอนที่สุด แต่หากว่ามีการระบุว่ายกให้เป็นสินสมรส และมีจดทะเบียนการให้ที่สำนักงานที่ดินและต้องระบุชื่อผู้มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นอย่างชัดเจนว่าจะให้ใครคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน ทรัพย์สินนั้นจะเป็นสินสมรสในทันที

ตัวอย่าง นายเก่งเกินชายทำงานอยู่ที่บริษัทตัวแทนซื้อขายที่ดิน จึงทำให้เห็นช่องทางในการทำเงินจากโอกาสนี้ นายเก่งเกินชายจึงได้ทำการซื้อที่ดินเก็บเพื่อเก็งกำไร โดยที่ทางภรรยาทราบเพียงว่าสามีของตนนั้นมีที่ดินบ้างแต่ไม่ทราบว่ามีมากเท่าใด และตัวนายเก่งเกินชายได้มีชื่อในทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านและมีเพียงเขาเป็นผู้มีรายชื่อในนั้น (ภรรยาและลูกอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่อื่น เนื่องจากมีบ้านหลายหลัง) นายเก่งเกินชายจึงสามารถทำการซื้อที่ดินโดยที่ไม่ต้องขอความยินยอมจากภรรยา และถือว่าการซื้อที่ดินนั้นเป็นการทำให้ทรัพย์ในครอบครัวมีมากขึ้น แต่กฏหมายกำหนดไว้ว่า การขายที่ดินควรได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่ในกรณีนายเก่งเกินชายได้แจ้งว่าเป็นโสด(เพราะกฏหมายไทย ให้สุภาพบุรุษใช้คำนำหน้านามว่า "นาย" ตลอดชีพ ทำให้ตรวจสอบยากกว่า สุภาพสตรี ที่ต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามในสมัยที่ผ่านมา) หากมีผู้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ การแจ้งความเท็จย่อมมีความผิดทางอาญาแน่นอน ทางสำนักงานที่ดินจะให้ความสำคัญทางเอกสารของคู่สมรสมากกว่าเมื่อมีการขายที่ดินและมีการตรวจสอบที่ค่อนข้างมาก

ตัวอย่าง นางอยู่เย็นเป็นสุขแต่งงานกับนายมั่งมี ทั้งคู่เป็นคนที่มีฐานะเดิมที่ดีอยู่แล้วและมีหน้าที่การงานมั่งคง นางอยู่เย็นเป็นสุขจึงมีเงินเหลือใช้พอสมควรในแต่ละเดือน ด้วยว่าราคาทองคำได้ขยับตัวขึ้นอยู่ตลอดเวลาเธอจึงดำริที่จะลงทุนซื้อทองคำแท่งเพื่อเป็นการลงทุน แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ความรักจืดจางไปเกิดการหย่างร้างขึ้น ทองคำแท่งที่มีอยู่จำนวนมากจึงถูกฝ่ายนายมั่งมีอ้างว่าเป็นสินสมรสและควรมีการแบ่งกัน เมื่อเรื่องถึงที่สุดทองคำแท่งซึ่งศาลถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีราคา เป็นส่วนที่ได้มาในระยะเวลาที่แต่งงานอยู่ร่วมกัน และไม่สามารถถือได้ว่าเป็นสินส่วนตัว เพราะทองคำเหล่านี้มิใช่เครื่องประดับ เป็นการซื้อเพื่อการทำกำไรในภายหลังจึงเห็นสมควรให้มีการแบ่งทรัพย์สินนี้ แต่หากอยากให้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวแล้วนางอยู่เย็นเป็นสุขจะต้องซื้อทองคำรูปพรรณเพื่อใช้สอยประดับตัวตามสมควรแก่ฐานะ ทรัพย์สินนี้จึงจะถือเป็นทรัพย์ส่วนตัวไม่สามารถแบ่งได้


ตัวอย่าง กรณีที่สามีมีภรรยาหลายบ้าน และถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินขอให้จัดการให้สามีเซ็นยินยอมในการซื้อที่ดิน ถ้าหย่าก็ต้องเอาใบหย่ามา ถ้าเป็นหม้ายก็เอามรณบัตรมา ซึ่งตามกฎหมายแล้ว การซื้อที่ดินไม่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรส โดยอาจเป็นระเบียบภายในที่ทำกันไว้ในยุคที่ใช้กฎหมายเก่า อย่างไรก็ดีในการขายที่ดินจำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเสียก่อน (ซึ่งกำหนดให้ภรรยาไม่มีความสามารถทำนิติกรรมถ้าสามีไม่อนุญาต) สมมุติว่าว่าสามีงุบงิบซื้อที่ดิน หรือมีการโยกบัญชีซุกหุ้นที่ซื้อมาให้ภรรยาน้อยแล้ว หากภรรยาหลวงจำได้เธอก็ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเอาทรัพย์สินคืนได้ เพราะถือว่าสามีได้ใช้สินสมรส (เงินที่หามาได้ในระหว่างแต่งงาน)ซื้อทรัพย์สินนั้น แม้ว่าจะมีการแจ้งต่อนายทะเบียนที่ดินเป็นชื่อของภรรยน้อยก็ตาม

เป็นอย่างไรบ้างค่ะภรรยาสมัยใหม่ต้องมีความรู้เรื่องกฏหมายให้รู้เท่าทันคู่สมรสของคุณ เผื่อว่าจะได้ไม่ต้องตกยุค และโดนหลอกเอาได้ง่ายๆ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล weddinginlove

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

จ้างแรงงาน จ้างทำของ


มีกระทู้ถามมาว่า "ถ้าหากว่าคุณมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน คุณอยากจะทำอะไร บางท่านคงจะชอบที่จะพักผ่อนอยู่ที่บ้าน บางท่านอาจชอบเดินทางไปพักผ่อนในสถานที่ท่องเที่ยวไกลๆ หากว่าเป็นสถานที่ที่ท่านคุ้นเคยคงไม่ต้องหนักใจ แต่หากว่าเป็นต่างประเทศหรือเป็นสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย คุณอาจต้องพึ่งบริษัทนำเที่ยวเพื่อซื้อเพ็จเกจทัวร์ คำถามมีอยูว่า การซื้อบริการเพ็จเกจทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวที่ทางบริษัทได้จัดการเกี่ยวกับ การขอวีซ่า ตั๋วเดินทาง รับผิดชอบเรื่องที่พักและอาหาร และจัดให้มีไกด์ของบริษัทนำเที่ยวด้วย จะถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน หรือว่าเป็นการจ้างทำของ"

จากคำถามข้างบนเราคงต้องเข้าใจความหมายของ การจ้างแรงงาน และ การจ้างทำของ ก่อนจึงค่อยตัดสินใจว่าจะตอบคำถามว่าอย่างไรกันดีกว่านะคะ

การจ้างแรงงาน ,มาตรา 575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"

"สัญญาจ้างแรงงาน" เป็นสัญญาต่างตอบแทน มุ่งที่การใช้แรงงาน เป็นสัญญาแบบไม่มีรูปแบบ นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาการทำงานของลูกจ้างได้โดยมีสินจ้างคือ เงินเป็นค่าตอบแทน การคำนวณสินจ้างจะคิดตามระยะเวลาการทำงาน นายจ้างจะเป็นผู้จัดหาเครื่องมือในการทำงาน และสัมภาระที่ใช้ในการทำงาน นายจ้างต้องรับผิดที่ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง และการทำงานลูกจ้างจะต้องทำเอง เว้นแต่นายจ้างยินยอมให้คนอื่นทำแทน

จ้างทำของ, มาตรา 587 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับว่าจะทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น"

"สัญญาจ้างทำของ" เป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่มุ่งผลสำเร็จของงาน เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา คือ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเพียงแต่ควบคุมเพื่อผลของงานเท่านั้น จะให้สินจ้างเป็นเงิน หรือสิ่งของ หรือประโยชน์คิดตามผลสำเร็จของงาน ผู้รับจ้างจะเป็นผู้จัดหาเครื่องมือในการทำงานและสัมภาระที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงผู้รับจ้างสามารถจ้างคนอื่นทำแทนก็ได้ เว้นแต่งานที่ต้องจ้างฝีมือโดยเฉพาะ


จากที่ตัวบทกฏหมายที่ได้กล่าวอ้างถึงในข้างบนนี้ คงพอจะสรุปได้ว่า นักท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค้ที่ผลของงานคือ วันหยุดพักผ่อนที่มีผู้จัดการเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งหมด โดยมีบริษัทนำเที่ยว ซึ่งจะรับผิดชอบต่องานที่จะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนตั้งแต่ การขอวีซ่า การเดินทาง ที่พัก อาหารการกินระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวไปกับบริษัท รวมถึงมีไกด์นำเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละที่ตลอดจนการท่องเที่ยวสิ้นสุดลง สัญญระหว่างผู้จ้างคือ นักท่องเที่ยว กับ บริษัทนำเที่ยวซึ่งเป็น ผู้รับจ้าง จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ มิใช่การจ้างแรงงาน

เช่าซื้อ ซื้อเงินผ่อน จำนำ จำนอง ขายฝาก


การแลกเปลี่ยน - ซื้อขาย เป็นกิจที่มีมาตั้งแต่ที่มีมาตั้งแต่ในสมัยอดีตที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์จนปัจจุบัน และได้มีบัญญัติเป็นตัวบทกฏหมายในมาตรา 453 ไว้ว่า "อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ขาย" และสัญญาซื้อขาย จะต้องมีบุคคลสองฝ่าย, จะต้องเป็นสัญญาต่างตอบแทน, ต้องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขาย และต้องมีการตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายแก่ผู้ขาย

การเช่าซื้อ ตามมาตรา 572 บัญญัติว่า "อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกมาให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้ช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว" และสัญญเช่าซื้อนั้นจะมีองค์ประกอบ ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน, เป็นสัญญาซึ่งเจ้าของเอาสินทรัพย์ออกให้เช่า, ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขาย หรือให้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นของผู้เช่า, มีเงื่อนไขว่า ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และผู้ให้เช่าต้องมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ

การซื้อเงินผ่อน เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อ ขณะที่จะต้องผ่อนราคาอยู่ โดยผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินค่าสินทรัพย์ส่วนที่เหลือเป็นงวดๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด

การจำนำ หมายถึงสัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ ดังนั้น สัญญาจำนำ จึงเป็นสัญญาที่เอาสังหาริมทรัพย์มอบไว้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ สัญญาจำนำจะต้องมีสัญญาประธาน คือสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้, สัญญาจำนำเป็นสัญญาอุปกรณ์ คือเป็นสัญญาประกอบของสัญญาประธาน เพื่อประกันการชำระหนี้ของสัญญาประธาน, ทรัพย์สินที่จำนำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์, ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับจำนำ, กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่จำนำยังเป็นของผู้จำนำ และมีวัตถุประสงค์เพื่อประกันการชำระหนี้

การจำนอง คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบสินทรัพย์นั้นแก่ผู้รับจำนอง โดยมีลักษณะ ดังนี้ เป็นสัญญาสองฝ่าย คือ ผู้จำนอง กับผู้รับจำนอง, ต้องมีทรัพย์สินที่จำนอง, ไม่ต้องส่งมอบสิทรัพย์ที่จำนองให้แก่ผู้รับจำนอง, กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองยังเป็นของผู้จำนอง, ต้องมีสัญญาประธาน คือสัญญาที่ก่อให้กิดหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้, สัญญาจำนองเป็นสัญญาอุปกรณ์ เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ และผู้รับจำนองมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จำนองนั้นจำต้องโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่

การขายฝาก คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ โดยมีลักษณะ ดังนี้ เป็นนิติกรรมสองฝ่าย คือผู้ขายฝาก กับผู้ซื้อฝากได้ตกลงทำสัญญาขายฝากกัน, กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญาขายฝาก, มีข้อกำหนดว่าผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นคืนได้ โดยระยะเวลาไถ่คืนกำหนดไว้สองประการคือ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนด 10 ปี นับแต่เวลาซื้อขาย ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนด 3 ปี นับแต่เวลาซื้อขาย

อย่างไรก้อดีการเช่าซื้อ การซื้อเงินผ่อน การจำนำ การจำนอง และการขายฝากอาจมีข้อแตกต่างกันบ้างตามลักษณะของสินทรัพย์ เช่น สังหริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ หรือมีข้อแตกต่างของเงื่อนไขสัญญา แต่ทุกกิจที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องเกิดจากบุคคลสองฝ่าย และจะต้องมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้แก่เจ้าหนี้ ในช่วงเวลาที่กำหนด และได้มีการส่งมอบทรัพย์สินระหว่างกัน จึงจะถือว่า กิจที่ได้กระทำลงไปเป็นการสำเร็จเสร็จสิ้น