วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กฏหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้านพักอาศัย

กฏหมาย คือ "ข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม" ไม่ว่าเราจะอาศัย ณ แห่งใด ของสังคม เราจะต้องยึดมั่น ถือปฏิบัติตามกฏของสังคมนั้นๆ

กฏหมายย่อมเกี่ยวข้องกับทุกผู้ ทุกนาม ไม่เว้นแม้แต่ ผู้มีอาชีพแม่บ้าน ซึ่งไม่มีงานประจำนอกบ้านอย่างผู้เขียน ยังต้องมีความเกี่ยวข้องจนได้ กล่าวคือ ในช่วงนี้ผู้เขียนกำลังก่อสร้างบ้านใหม่ จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญัติควบคุมอาคาร ฉบับปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ ๓ ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมีสาระสำคัญคือ

๑. ควบคุมเรื่องความมั่นคงแข็งแรง

๒. ควบคุมความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร

๓. ควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อสังคมและชุมชน

๔. ควบคุมการสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

แนวคิดของของกฏหมายการก่อสร้างบ้านพักอาศัย เป็นการสร้างเพื่อแสดงถึงอาณาเขตที่เป็นสัดส่วนของบุคคล เป็นเอกสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ และจะต้องไม่ล่วงล้ำกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นเช่น ที่ดินส่วนบุคคล (พื้นที่ข้างเคียง) หรือไปซ้อนทับกับที่สาธารณะของแผ่นดิน



กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านพักอาศัย

๑. บ้านสูงไม่เกิน ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างไม่ถึง ๖ เมตร จะต้องถอยตัวอาคารบ้านพัก ห่างจากกึ่งกลางถนน ไม่น้อยกว่า ๓ เมตร

๒. บ้านสูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างไม่ถึง ๑๐ เมตรจะต้องถอยตัวบ้านพักห่างจากกึ่งกลางถนน ไม่น้อยกว่า ๖ เมตร

๓. บ้านสูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้างขนาด ๑๐-๒๐ เมตร จะต้องสร้างอาคารถอยห่างจากที่ดิน จากเขตที่ดินเป็นระยะ ๑ ใน ๑๐ เท่าของความกว้างถนน

๔. บ้านที่สูงเกินกว่า ๘ เมตร และสร้างบนที่ดินติดถนนกว้าง ๒๐ เมตรขึ้นไป จะต้องสร้างอาคารถอยห่างจากเขตที่ดิน เป็นระยะอย่างน้อย ๒ เมตร

๕. การสร้างบ้านใกล้แม่น้ำ คู คลอง ลำราง ที่แคบกว่า ๑๐ เมตร จะต้องถอยตัวบ้านห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๓ เมตร

๖. ถ้าแหล่งน้ำนั้นกว้างกว่า ๑๐ เมตร จะต้องถอยตัวบ้านห่างจาขอบที่ดินอย่างน้อย ๖ เมตร

๗. ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล จะต้องถอยให้ตัวบ้านห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๑๒ เมตร

๘. หากเป็นสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น สะพาน ท่าเรือ อู่เรือ เขื่อน รั้วที่จำเป็นต้องสร้างชิดแหล่งน้ำ ให้ยื่นขออนุญาตต่อทางราชการต่างหาก จากบ้านพักอาศัย

๙. ห้ามสร้างบ้านให้มีส่วนหน่งส่วนใด ยื่นรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินผู้อื่น

๑๐. หากผนังข้างบ้านเป็นช่องเปิดต่างๆ เช่น ประตู หน้าต่าง แนวระเบียง จะต้องถอยร่นจากขอบที่ดินเป็นระยะ ๒ เมตร (สำหรับชั้นหนึ่งและชั้นสอง) และถอยเป็นระยะ ๓ เมตรสำหรับชั้นสาม

๑๑. หากผนังข้างบ้านเป็นผนังทึบ และมีความสูงไม่เกิน ๑๕ เมตร ให้เว้นระยะไว้อย่างน้อย ๕๐ เซ็นติเมตร หรือถ้าต้องการสร้างผนังให้ไปจนชิดแนวขอบจริงๆ ต้องให้เพื่อนบ้านเซ็นต์ยินยอมเสียก่อน เนื่องจากเวลาก่อสร้างนั้น ช่างอาจต้องวางนั่งร้าน เพื่อทาสีฉาบปูนในเขตที่ดินของเพื่อนบ้าน (หากพื้นที่ใช้สอยรวมแล้วกว้างกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร จะต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย ๑ เมตร โดยทุกกรณี)

๑๒. กรณีที่บ้านสูงเกิน ๑๕ เมตร จะต้องให้ผนังทึบ ถอยห่างจากขอบที่ดินอย่างน้อย ๕๐ เซ็นติเมตร (หากพื้นที่ใช้สอยรวมแล้วกว้างกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร ห้ามสร้างชิดเด็ดขาด)

๑๓. การปลูกสร้างบ้านพักอาศัยบนที่ดินนั้น ตามกฏหมายกำหนดให้เปิดเป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ โดย ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อการก่อสร้างบ้านพักอาศัย (ที่ว่างหมายถึง พื้นที่อันปราศจากสิ่งปกคลุม ซึ่งอาจจัดเป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักขยะมูลฝอย เป็นต้น)


ที่มา; ข้อมูลธนาคารอาคารสงเคราะห์, บ้าน สวน สบาย

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณค่ะ ที่นำเรืองน่าสนใจมาฝากกันค่ะ

    ตอบลบ
  2. กรณีเป้นทาวเฮ้าส่ใช้หลังคาเดียวกัน แล้วทางโครงการทำช่วงโครงหลังคาไม่แยกเป้นหลังๆ สามารถเดินถึงกันทุกหลังคา แล้วมีเหตุว่า เพื่อนบ้านเดินมาลงบ้านเราทางลงฝ่าใต้หลังคาแบบนี้ ตอนเราไม่อย่บ้าน อยากทราบว่า เราฟ้องโครงการได้ป่าวคะ แบบนี้ ที่ทำบ้านแบบนี้อะค่ะ

    ตอบลบ